หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
โลกบาลธรรม คือ ธรรมะสำหรับคุ้มครองโลก มีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือ
1. หิริ หมายถึง ความละอายแก่ใจต่อการที่จะทำความชั่ว
2. โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป กลัวว่าความชั่วจะทำให้เกิดผลร้ายต่อตนเอง
และผู้อื่น
สัปปุริสธรรม หมายถึง หลักธรรมของคนดีในสังคม มี 7 ประการ คือ
1. ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ รู้จักหลักเกณฑ์
2. อัตถัญญุตา รู้จักผล รู้จักความมุ่งหมาย
3. อัตตัญญุตา รู้จักตน รู้จักว่าตนมีกำลังฐานะอย่างไร
4. มัตตัญญุตา รู้จักความพอดี รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา รู้จักเวลาที่เหมาะสม
6. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน รู้จักเคารพในสถานที่
7. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล รู้จักว่าแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร
ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง หลักธรรมที่เอื้อให้เกิดประโยชน์ได้ในปัจจุบัน ได้แก่
1. อุฎฐานสัมปทา หมายถึง มีความขยันหมั่นเพียร แสวงหาทรัพย์
2. อารักขสัมปทา หมายถึง การรู้จักรักษา เมื่อแสวงหาทรัพย์มาได้ต้องรักษา
3. กัลยาณมิตตา หมายถึง รู้จักคบคนดี
4. สมชีวิตา หมายถึง รู้จักใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือตระหนี่ถี่เหนียวเกินไป
สังคหวัตถุ หมายถึง ธรรมะที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างคนในสังคม ได้แก่
1. ทาน หมายถึง การให้ การบริจาค
2. ปิยวาจา หมายถึง การพูดด้วยความปรารถนาดี จริงใจ
3. อัตถจริยา หมายถึง ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
4. สมานัตตตา หมายถึง การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย เมื่อเกิดปัญหาต่อส่วนรวม ก็ต้องร่วมกันแก้ปัญหา
เข้าชม : 140
|